วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สเปค เครื่องคอมพิวเตอร์



CPU

CELERO


N D-331


(2.66)


Mainboard
- ASUS P5-VD2-VM775I65G


Memory
- KINGSTON 512/533

Harddisk
- 80/7200 SAMSUNG SATA II

CDRom
- CD-RW SAMSUNG

Floppy
- SONY 1.44 MB.

case
-ATX NEOLUTION

Keyboards
- PS/2

Mouse
- OPTICAL

Speakers
- STERNO 240W

เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM PC รุ่น 486 DX ขึ้นไป (ควรเป็น Pentium)
หน่วยความจำ RAM อย่างน้อย 16 MB (ควรเป็น 32 MB)
ดิสก์ไดร์ฟ ขนาด 3.5 นิ้ว แบบความจุสูง (HD) หรือ ไดร์ฟ CD-ROM
ฮาร์ดดิสก์ มีเนื้อที่เหลืออย่างน้อย 200 MB
จอภาพและแผงควบคุมจอภาพแบบ VGA (ควรเป็น Super VGA)
- หากต้องการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ จะต้องมีโมเด็ม (MODEM)
แผงระบบเครือข่าย (NIC)

-หากต้องการใช้งานระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) จะต้องมี การ์ดเสียง และอุปกรณ์มัลติมีเดีย อื่น ตามที่ต้องการ


วิธีเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์


เมื่อเราทราบถึงลักษะการใช้งานของเครื่องแล้ว ต่อมาเราจะพิจารณาถึงสเป็ค ของเครื่อง ซึ่งเราควรดู สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าเป็นอย่างไร มีความเหมาะสม หรือตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานหรือไม่ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังนี้

* หน่วยประมวลผล (CPU) ว่าเป็นรุ่นใด เช่น Celeron Pentium II Pentium III และ CPU เหล่านี้มีความเร็วในการทำงานเท่าไหร่

* มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ว่ามีขนาดและความเร็วเท่าไหร่ เช่น แรมขนาด 64 MB มีความเร็วในการทำงาน 100 MHz

* ฮาร์ดดิสก์มีขนาดเท่าไหร่ มียี่ห้อหรือเป็นชนิดใดและมีความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเท่าไหร่

* ใช้เมนบอร์ดรุ่นไหน

* มีการ์ดจอยี่ห้อหรือรุ่นอะไร และมีหน่วยความจำในการ์ดจอเท่าไหร่

* มีการ์ดเสียงและลำโพงยี่ห้อหรือรุ่นอะไร ฯลฯ

การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

ก่อนถึงรายละเอียดของชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ควรพิจารณาเลือกซื้อในปัจจุบัน เราจะต้องแบ่งระดับของผู้ใช้ก่อน โดยจะแบ่งตามชนิดของการใช้งานเป็นหลัก ดังนี้
1. Basic User คือ ผู้ที่ใช้โปรแกรมประเภท Windows 98 , Ms Office , Utility ต่างๆ และดูหนัง ฟังเพลง
2. Power User คือ ผู้ที่ใช้งานโปรแกรมด้านกราฟิก และเล่นเกมส์บ้าง เช่น โปรแกรม Photoshop , AutoCAD
3. Graphic User คือ ผู้ที่ใช้เครื่องทำงานด้านกราฟิกเป็นหลัก เช่น โปรแกรม Photoshop , AutoCAD , 3D MAX

ซีพียู =เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรก และชิ้นสำคัญที่จะต้องพิจารณา ซีพียูที่น่าสนใจมีอยู่ 3 ยี่ห้อ คือ Intel , AMD และ Cyrix โดยรุ่นที่น่าสนใจของซีพียูแต่ละยี่ห้อสำหรับผู้ใช้ในระดับต่างๆ
เมนบอร์ด = ควรเลือกแบบ ATX เพราะเป็นเมนบอร์ดที่มีการทำงานเร็วกว่า AT และมีการจัดวางอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังมีการระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมนบอร์ดที่มีคุณภาพดีมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น Abit , Aopen , Asus , Gigabyte , Intel เป็นต้น แต่ที่น่าสนใจในตอนนี้ก็คือ เมนบอร์ดของ Aopen และ Abit เพราะเป็นรุ่นที่มีระบบ Soft Menu ทำให้เราสามารถอัพเกรดซีพียูได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องตั้งค่า Jumper หรือ DIP Switch แต่อย่างใด แต่ถ้าเลือกเมนบอร์ดที่ใช้กับ Athlon ก็มีเมนบอร์ดให้เลือกอยู่ 5 ยี่ห้อ คือ Asus, K7M, Gigabyte, GA-71X, FIC SD11, FreeTech P7F200A, MSI 6167 แต่ถ้าเลือกเมนบอร์ดสำหรับ Pentium ก็จะมีเมนบอร์ดให้เลือกมากมาย

แรม = การเลือกแรมควรเลือกขนาดความจุอย่างน้อย 64 MB และมีความเร็ว 100 MHz ขึ้นไป เพราะโปรแกรมจะทำงานได้เร็วเมื่อมีหน่วยความจำมากเพียงพอ สำหรับยี่ห้อของแรมก็ควรจะเลือกยี่ห้อที่เชื่อถือได้ เช่น ฮิตาชิ ฮุนได แอลจี เอ็นอีซี ไมครอน เป็นต้น ถ้าซื้อแรมประเภทโนเนมก็จะได้แรมคุณภาพไม่ดี เสียง่าย ทำงานช้า และอาจทำให้เครื่องแฮงค์บ่อย

ฮาร์ดดิสก์ = ที่ควรเลือกใช้ในปัจจุบันคือ ฮาร์ดดิสก์แบบ UltraDMA/66 ซึ่งเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล (Transfer Rate) 66 MB/s ขนาดความจุที่เป็นมาตรฐานอยู่ในขณะนี้คือ 4.3 GB ในการเลือกขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์จะขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูลของแต่ละคนว่า ต้องการเนื้อที่ในการจัดเก็บเท่าไร ฮาร์ดดิสก์ส่วนมากจะมีการรับประกันประมาณ 3 ปี

ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ = เป็นไดรว์ที่ยังคงนิยมใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูกและไม่มีฟังก์ชันการทำงานอะไร เลือกซื้อได้ง่าย เพราะทุกยี่ห้อมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็น TEAC , Samsung , Mitsu , Techmedia เป็นต้น

ซีดีรอมไดรว์ = ความเร็วของซีดีรอมที่เป็นมาตรฐานอยู่ในขณะนี้คือ 48 - 50X มีหน่วยความจำ 128 - 256 KB มาตรฐานของแต่ละยี่ห้อก็ไม่ต่างกันมากนัก ซีดีรอมที่นิยมใช้ได้แก่ AOpen , Asus , CTX , LG , Philips , Pioneer , Sony เป็นต้น

การ์ดเสียง = มีเมนบอร์ดจำนวนมากที่มีการ์ดเสียงรวมอยู่ในตัวที่เรียกว่า Sound on Board ซึ่งก็มีระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะเมนบอร์ดที่ใช้ชิปอย่าง Creative Sound Blaster, Yamaha XG นั้นมีเสียงที่ดีมาก แต่สำหรับผู้ที่ต้องการใช้การ์ดในระดับเสียงคุณภาพสูงก็ควรเลือก Sound Blaster Live! Platinium ที่ขายอยู่ตามร้านจะเป็นการ์ดที่มีราคาประมาณ 800 -900 บาท ซึ่งก็มีเสียงที่ดี

การ์ดแสดงผล = การที่จะเลือกว่าจะใช้การ์ดแสดงผลแบบ PCI หรือแบบ AGP นั้นให้พิจารณาโปรแกรมที่ต้องใช้ในการทำงาน ถ้าเป็นโปรแกรมทางด้าน 2 มิติธรรมดา เช่น Windows 98 , Ms Office ฯลฯ ก็ให้เลือกการ์ดแสดงผลแบบ PCI แต่ถ้าเป็นโปรแกรมทางด้านกราฟิก 2/3 มิติ เช่ย 3D MAX, Photoshop , AutoCAD ฯลฯ ก็ควรเลือกการ์ดแสดงผลแบบ AGP หรืออาจจะเลือกซื้อการ์ดแสดงผลแบบที่สามารถเร่งความเร็วได้ทั้งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติก็ได้ ถ้าต้องการการ์ดแสดงผลคุณภาพสูงก็ให้เลือกการ์ดแสดงผลแบบ AGP2X ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ตอบสนองเทคโนโลยีของเกมส์ 3 มิติ โดยเฉพาะ มีแบนด์วิธในการถ่ายโอนข้อมูลได้มากกว่าระบบบัสแบบ PCI ถึง 4 เท่าและในปัจจุบันได้มีการผลิตการ์ด AGP4X ออกมาแล้ว โดยได้เพิ่มความสามารถ และเพิ่มความเร็วในการแสดงผลที่ความละเอียดสูง การ์ดแสดงผลที่นิยมใช้ได้แก่ Addonics , SIS6326 , Colormax S3 Savage4 , Millennium G400 , WinFast S320V , PixelView TNT2 , STB&3DFX Voodoo3 , Creative Banshee , Asus Geforce เป็นต้น

จอภาพ = ควรเลือกให้สอดคล้องกับการ์ดจอ เพื่อจะได้ภาพออกมามีคุณภา สำหรับขนาดของจอภาพที่นิยมใช้จะเป็นขนาด 15 นิ้ว ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับจอภาพขนาด 14 นิ้ว และควรเลือกแบบจอแบน ซึ่งทำให้ภาพที่ออกมาเหมือนจริงมาก และยังช่วยลดแสงสะท้อนได้อีกด้วย หรืออาจจะเลือกจอ Trinitron อย่าง MAG หรือ Sony ที่นิยมมากอยู่ในตอนนี้ ถ้าต้องทำงานด้านกราฟิกก็ควรเลือกขนาด 17 นิ้ว ขึ้นไป การรับประกันจอภาพจะประมาณ 1-2 ปี

คีย์บอร์ด =ราคาประมาณ 200 บาทขึ้นไป ถ้าต้องการคีย์บอร์ดที่มีคุณภาพและมีปุ่มฟังก์ชันการทำงานมากๆ ก็คงจะต้องจ่ายในราคาสูง บางยี่ห้ออาจจะมีราคา 1,000 บาทขึ้นไป

เมาส์ = มีตั้งแต่ราคา 100 บาทขึ้นไป ควรเลือกเมาส์ที่มีล้อสำหรับเลื่อนหน้าจอ (Wheel Mouse) เพื่อช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น

ลำโพง = การเลือกซื้อลำโพงควรเลือกให้สอดคล้องกับการ์ดเสียง ก็จะทำให้ได้เสียงที่มีคุณภาพ ราคาของลำโพงมีให้เลือกหลายราคา แต่สำหรับการใช้งานที่มีต้องการเสียงที่มีคุณภาพสูงนัก ก็ควรเลือกลำโพงราคาประมาณ 500 - 800 บาท ก็ให้เสียงที่ดีพอสมควร และควรเลือกลำโพง 120 วัตต์ขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น