วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ซิปเซ็ต

ชิปเซ็ต (Chipset)

อุปกรณ์ชิปเซ็ต (Chipset) เป็นตัวควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของเมนบอร์ด โดยจะทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือประสานการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะโปรเซสเซอร์ (ซีพียู) และหน่วยความจำหลัก เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ตัวควบคุมฐานเวลา ควบคุมระบบบัสของซีพียู ระบบบัสของสล็อต รวมถึงควบคุมการติดต่อสื่อสารกับพอร์ต (Port) ต่างๆ เช่น Communication Port, USB Port อุปกรณ์ชิปเซ็ต (Chipset) เป็นตัวควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของเมนบอร์ด โดยจะทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือประสานการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะโปรเซสเซอร์ (ซีพียู) และหน่วยความจำหลัก เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ตัวควบคุมฐานเวลา ควบคุมระบบบัสของซีพียู ระบบบัสของสล็อต รวมถึงควบคุมการติดต่อสื่อสารกับพอร์ต (Port) ต่างๆ เช่น Communication Port, USB Port

ชิปเซ็ตที่นิยมนำมาติดตั้งบนเมนบอร์ดก็มาจากหลากหลายผู้ผลิต เช่น VIA , Intel , ALI , AMD


ชิปเซ็ทเป็นตัวบ่งชี้ ยิ่งชิปเซ็ทมีประสิทธิภาพสูงการคอนโทรลอุปกรณ์ต่อพ่วงทุกชิ้นยิ่งมีประสิทธิภาพสูงตามไปด้วยChipsetมีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทุกอย่างที่ต่อพ่วงเข้ามากับตัวเมนบอร์ดจะมีChipset 2ตัวคือ Chipset NorthBridgeและChipset SouthBridgeChipset NorthBridge จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงจำพวก CPU RAM และ GraphicardChipset SouthBridge จะควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ที่มีความเร็วต่ำเช่น Harddisk Printer DVD-Writer เป็นต้นนอกจากนี้ยังรวมไปถึงการควบคุมระบบชั้นสูงเช่น Multi GPU , RAID , Over Clock เป็นต้นChipset มีการพัฒนาออกมาเรื่อยๆประสิทธิภาพการทำงานก็ดีขึ้นตามแต่ละชิปเซ็ทดังนั้นการเลือกซื้อChipsetให้เหมาะกับการใช้งานต้องอาศัยประสบการณ์และการค้นคว้าหาข้อมูลของChipsetแต่ละตัวว่ามีความสามรถจัดการ อุปกรณต่างๆได้ดีเพียงไรปัจจุบันในปลายปี2008-ต้นปี2009 Chipset Intelที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพสูงคือ Chipset P45ยกตัวอย่างเช่น Chipset A มีระบบ Dual Chanelแต่ Chipset B ไม่รองรับระบบ Dual Chanelเมนบอร์ด Chipset A เมื่อเปิดใช้งานระบบ Dual Chanelของ RAM จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของ RAM ดีกว่าเพราะว่าRAMวิ่งรับส่งข้อมูลแบบ 2ทาง

การทำงานของชิปเซตแยกออกเป็นสองส่วน

1. North Bridge ใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูง เช่น ซีพียู, แคช(Cache), แรม (RAM) และการ์ดแสดงผลที่ทำงานบนระบบบัส AGP กล่าวคือ - ควบคุมฐานเวลา : Chip Set จะคอยควบคุมสัญญาณนาฬิกาที่ถูกส่งไปให้อุปกรณ์รอบข้างรวมทั้ง CPU เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยอาศัย X-tal ในการสร้างสัญญาณนาฬิกาขึ้นมา จากนั้น Chip Set จะทำการปรับแต่งเพื่อให้เหมาะสมก่อนส่งไปจ่ายกับอุปกรณ์รอบข้าง และ CPU

-ควบคุมการอินเทอร์รัพท์ : Chip Set จะคอยตรวจสอบความสำคัญ ถ้าอุปกรณ์รอบข้างใดที่มีความสำคัญมาก ก็จะส่งสัญญาณไปให้ CPU เพื่อทำการประมวลผลก่อน แต่ถ้าอุปกรณ์รอบข้างใดๆ ที่มีความสำคัญน้อยกว่า ก็จะถูกส่งสัญญาณไปทีหลัง ซึ่งทำให้ CPU ลดการทำงาน เพราะไม่ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ทุกๆ อุปกรณ์ -.ควบคุมหน่วยความจำ : เมื่อมีการประมวลผลข้อมูล CPU จะทำการเรียกใช้หน่วยความจำ ดังนั้น Chip Set จะทำหน้าที่คอยควบคุมการเรียกใช้หน่วยความจำ โดยจะจัดสรรหน่วยความจำให้กับอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ และ ควบคุมการอ้างอิงตำแหน่งของหน่วยความจำคะ

-ควบคุม DMA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับคอมพิวเตอร์ : Chip Set จะทำหน้าที่ขอสิทธิ์ในการส่งผ่านข้อมูล ระหว่างหน่วยความจำ และ อุปกรณ์รอบข้าง โดยไม่ต้องผ่านการควบคุมของ CPU ซึ่ง Chip Set จะทำหน้าที่ในการ รีเฟรชหน่วยความจำแรมในระบบ และควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก และ Secondary Storage โดย Chip Set จะตรวจสอบความสำคัญของอุปกรณ์รอบข้างที่ร้องขอ DMA และ จะส่งสัญญาณไปที่ CPU เพื่อขอใช้ Bus จากนั้น CPU จะส่งสัญญาณตอบกลับ ซึ่งถ้าสามารถทำ DMA ได้ อุปกรณ์รอบข้างก็จะทำการใช้ Bus โดยปราศจากการทำงานของ CPU เมื่อมีการถ่ายโอนข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว อุปกรณ์รอบข้างจะส่งสัญญาณไปที่ CPU เพื่อคืน Bus ให้กับ

2. South Bridge ทำหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ความเร็วต่ำ เช่น ไดรฟ์ฟล็อปปี้ดิสก์ ไดรฟ์ซีดีรอม ฮาร์ดดิสก์ คีย์บอร์ด เมาส์ สล็อตชนิดต่างๆ และพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายคะ กล่าวคือ การที่ CPU จะประมวลผลข้อมูล หรือ รับ-ส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รอบข้าง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ Port Communication เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งจะมีหมายเลข Port (Address Port ) โดยในการติดต่อสื่อสารเป็นค่าคงที่ โดย CPU จะดึงข้อมูลจากอุปกรณ์รอบข้างจากตำแหน่ง Port (Address Port) ในหน่วยความจำ เพื่อทำการประมวลผล Chip Set จึงคอยควบคุมการอ้างอิงถึงตำแหน่ง Port ในหน่วยความจำ และ ในทางฮาร์ดแวร์เพื่อให้สัมพันธ์กัน

ฮับ hub








เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เข้าด้วยกัน







Hub ทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่กระจายข้อมูล ใช้ในการต่อแลนแบบดาวการเลือกซื้อฮับก็ตามปริมาณช่อง (port) ที่ใช้ว่าจะ เชื่อมโยงกี่เครื่องมันใช้ทำอะไร? อย่างเช่นคุณต้องการแชร์อินเทอร์เน็ตหรือไฟล์เอกสารงานต่าง ๆ ก็นำสายแลนโมเด็มต่อผ่าน hub และต่อสายจากฮับเข้าสู่คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องได้เป็นต้น Hub ทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่กระจายข้อมูล ใช้ในการต่อแลนแบบดาวการเลือกซื้อฮับก็ตามปริมาณช่อง (port) ที่ใช้ว่าจะเชื่อมโยงกี่เครื่องมันใช้ทำอะไร? อย่างเช่นคุณต้องการแชร์อินเทอร์เน็ตหรือไฟล์เอกสารงานต่าง ๆ ก็นำสายแลนโมเด็มต่อผ่าน hub และต่อสายจากฮับเข้าสู่คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องได้เป็นต้น



วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เมนบอร์ด

เมนบอร์ด









ความสำคัญของmainboard


เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง คือรวมเอาอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม กราฟิกการ์ด การ์ดอุปกรณ์เสริมต่างๆ ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมายให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยบนเมนบอร์ดจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าชิปเซต ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ถืวว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบ เพราะตัวชิปเซตนี้เองที่ทำหน้าที่กำหนดสถาปัตยกรรมโดยรวมของระบบ ไม่ว่าจะเป็นซีพียูที่รองรับ หน่วยความจำที่สามารถทำงานร่วมได้ ลูกเล่นต่างๆ ระบบบัสต่างๆ ที่รองรับ ประเภทของกราฟิกการ์ดที่ใช้งานร่วมด้วย ความสามารถในการต่ออุปกรณ์เก็บข้อมูล ทั้งหมดเป็นหน้าที่ของชิปเซ็ตซึ่งจะว่าไปแล้วก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียวกับเมนบอร์ดนั่นเอง หลายๆ คนที่คิดจะซื้อคอมพิวเตอร์เริ่มต้นจากการเลือกเมนบอร์ดก่อน ซึ่งนั้นไม่ใช่ความคิดที่ดี เพราะเมนบอร์ดไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของระบบ แม้ว่าจะมีผลอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก มันทำหน้าที่เป็นเพียงตัวประสานงานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เท่านั้น ดังนั้นต่อให้เปลี่ยนเมนบอร์ดไปเป็น 10 ตัว แต่ยังคงใช้งานอุปกรณ์ชุดเดิม คุณก็จะได้ประสิทธิภาพไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก ดังนั้นการเลือกที่ถูกต้องจึงควรจะเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นหรือต้องการจะใช้เสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม หรือกราฟิกการ์ดจากนั้นจึงมามองหาเมนบอร์ดที่สามารถรองรับอุปกรณ์ที่คุณวางสเปคไว้ถึงจะเหมาะสม


1.ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket)

เป็นช่องสำหรับใส่ซีพียู มีความแตกต่างไปตามรุ่นของซีพียูที่สามารถติดตั้งได้ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกเมนบอร์ดให้เหมาะกับซีพียูที่จะใช้ ซ็อกเก็ตซีพียูที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่4แบบ คือ Socket 478 และ LGA 775 สำหรับ Pentium 4, ซีพียู Athlon 64 (FX) จะใช้ Socket 754 และ Socket 939 และล่าสุดกับ Socket AM2+ ซึ่งจะรองรับแรม DDR2 ของซีพียูจาก AMD


2.ชิพเซต (Chipset)

ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยชิพเซตจะเป็นตัวกำหนดเมนบอร์ดว่าจะให้ทำงานร่วมกับซีพียูตัวไหน เพราะชิพเซตได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานกับซีพียูตัวนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชิพเซตบนเมนบอร์ดจะมีอยู่ 2 ตัว คือ ชิพเซต North Bridge และชิพเซต South Bridgeชิพเซต North Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลของซีพียูและแรม ตลอดจนสล๊อตของการ์ดแสดงผล ส่วนชิพเซต South Bridge มีขนาดเล็กกว่า ชิพเซต North Bridge มีหน้าที่ควบคุมสล๊อตของการ์ด PCI, ดิสก์ไดรว์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด เมาส์ หรือพอร์ตต่างๆที่อยู่ด้านหลังเครื่อง


3.ซ็อกเก็ตแรม (RAM Socket)
ป็นช่องสำหรับใส่แรม ปัจจุบันมีใช้อยู่ 2 แบบ คือ DDR2 และ DDR3 ซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกันได้เนื่องจากมีร่องบากต่างกัน

4.สล๊อตของการ์ดแสดงผล (Graphic Card Slot)


ว้สำหรับใส่การ์ดแสดงผล (Graphic Card) โดยมีสล๊อตอยู่ 2 แบบ คือ สล๊อต AGP (Accelerate Graphic Port) และ สล๊อต PCI Express x16 โดยทั้งสองแบบจะไม่เหมือนกัน ปัจจุบันบอร์ดรุ่นใหม่นิยมใช้ PCI Express x16 กันหมดแล้ว เนื่องจากมีความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลระดับ 4GB/s ซึ่งสูงกว่าแบบ AGP ถึง2เท่า


5.สล๊อต PCI (Peripheral Component Interconnect)
ทำงานที่ความเร็ว 33MHz และ ส่งข้อมูลที่ 32 บิตทำให้มีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 133 MB/s สล๊อต PCI มีไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดโมเด็ม หรือการ์ดแลน เป็นต้น


6.หัวต่อไดรว์ต่างๆ


แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ หัวต่อสำหรับฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (Floppy Disk Drive) และ หัวต่อสำหรับฮาร์ดดิสก์และไดรว์ซีดี/ดีวีดี หัวต่อฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์มีจำนวนขา 34 ขา (ขาที่ 5 ถูกหักออกเพื่อป้องกันการเสียบผิด) ใช้เชื่อมต่อกับไดรว์ฟล็อปปี้ดิสก์ ส่วนหัวต่อฮาร์ดดิสก์และไดรว์ซีดี/ดีวีดี ปัจจุบันนิยมใช้อยู่2แบบคือ
*หัวต่อแบบ IDE เหมือนกับฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ แต่มันจำนวนเข็ม 40 ขา (ขาที่ 20 ถูกหักออกเพื่อป้องกันการเสียบผิด) ปกติเมนบอร์ดจะมีหัวต่อแบบ IDE มาให้ 2 ช่องคือ IDE1 จะเรียกว่า Primary และ IDE2 เรียกว่า Secondaryแต่ละหัวต่อจะเชื่อมอุปกรณ์ได้ 2 ตัวขนานกันในสายแพเส้นเดียวกัน จึงสามารถต่ออุปกรณ์ได้ทั้งหมด 4 ตัว การต่อแบบขนานนี้ ทำให้อุปกรณ์ที่ต่อบนสายแพเส้นเดียวกัน หน่วงการทำงานของกันและกันได้ การเชื่อมต่อแบบ IDE นี้อาจจะเรียกว่า “เอทีเอแบบขนาน (Parallel ATA)”
*หัวต่อแบบ Serial ATA (SATA) มีขนาดเล็กกว่าแบบ IDE มาก ใช้การเชื่อมต่อแบบอนุกรม การเชื่อมต่อแบบ Serial ATA (SATA) ทำให้ไม่เกิดการหน่วงกันของอุปกรณ์แบบเดียวกับ IDE ทั้งยังมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่สูงกว่า คือ 150 MB/s และชิพเซต nForce 4 Ultra/SLi เป็นชิพเซตรุ่นแรกที่สนับสนุน Serial ATA Mode 2 ที่ 300 MB/s


7.หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ


รูปแบบของหัวต่อแหล่งจ่ายไฟมีอยู่ 2 แบบ คือ หัวต่อ ATX เป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่นจะต้องมี โดยเป็นชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด เดิมหัวต่อแบบ ATX เป็นแบบ 20 ช่อง (2 แถว แถวละ 10 ช่อง) แต่ปัจจุบันหัวต่อแบบ ATX ที่ใช้กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะเป็นแบบ 24 ช่อง (2 แถว แถวละ 12 ช่อง) โดยเพิ่มตำแหน่งของการจ่ายไฟให้มากขึ้นหัวต่อแบบที่ 2 เรียกว่า ATX 12V หัวต่อแบบนี้จะจ่ายแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 จุด ซึ่งเมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบันจะต้องใช้ ATX 12V เพิ่มจากหัวต่อ ATX หลักที่ต้องมีอยู่แล้ว และแหล่งจ่ายไฟที่จำหน่ายในปัจจุบันจะมีหัวต่อ ATX 12V นี้มาให้อยู่แล้วเช่นกัน


8.ชิพรอมไบออส (ROM BIOS)
เป็นหน่วยความจำแบบรอม (ROM - Read Only Memory) ที่บรรจุโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องเอาไว้ โดยไบออส (BIOS - Basic Input Output System) จะทำหน้าที่ตรวจอุปกรณ์ต่างๆเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะได้เริ่มกระบวนการเปิดเครื่องได้อย่างถูกต้องหากไบออสตรวจพบความผิดปกติ ก็จะส่งเสียงเป็นรหัสออกทางลำโพง ทำให้เราได้รู้ว่าได้เกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว วงจรชิพไบออสจะต้องมีแบตเตอรี่ไว้คอยเก็บค่าของไบออส เพื่อไม่ให้ข้อมูลศูนย์หายไปเมื่อปิดเครื่อง และใช้จ่ายไฟให้กับวงจรนาฬิกาในไบออสเพื่อให้นาฬิกาของเครื่องเดินตามปกติอายุการใช้งานของแบตเตอรี้ปกติจะอยู่ที่ 3-5 ปีขึ้นไป เมื่อใดที่เปิดเครื่องขึ้นมาแล้วหน้าจอแสดงคำว่า “Invalid CMOS Check Sum Error” แสดงว่าแบตเตอรี่กำลังจะหมด ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา


9.หัวต่อสายสวิตช์ควบคุม


ช่องเสียบสายสวิตช์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ ตำแหน่งของสายสวิตช์จากด้านหน้าเคส เพื่อใช้ควบคุมการเปิด/ปิดเครื่อง และรีสตาร์ทเครื่อง รวมถึงไฟแสดงสถานะการทำงานของเครื่องและฮาร์ดดิสก์ด้วย


10.พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ
เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ โดยลักษณะของพอร์ตจะแตกต่างตามอุปกรณ์


การเลือกซื้อเมนบอร์ด

การเลือกซื้อเมนบอร์ดให้ตรงตามความต้องการหลังจากที่เราได้ทำการวางแผนในการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่นๆ ได้หมดแล้วคราวนี้ก็มาถือการเลือกซื้อเมนบอร์ดที่จะนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นมารวมกัน


1. รองรับกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีของอุปกรณ์
ไม่ว่าคุณกำลังจะซื้อเมนบอร์ดใหม่เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ทั้งชุดหรือซื้อเพื่อการอัปเกรดคอมพิวเตอร์ตัวเก่าของคุณ สิ่งแรกก็คือคุณต้องดูก่อนว่าเมนบอร์ดที่สามารถรองรับกับอุปกรณ์ที่คุณใช้อยู่ หรือกำลังจะใช้นั้นมีรุ่นใดบ้าง
อย่างแรกก็คงหนีไม่พ้นส่วนของอินเทอร์เฟซ หรือ Socket ที่ใช้สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งเป็นสิ่งแรกทีต้องมองก่อนว่าซีพียูที่คุณใช้นั้นใช้อินเทอร์เฟซแบบใด ถ้าเป็น Intel Pentium หรือ Celeron รุ่นใหม่ๆ เดี่ยวนี้จะใช้อินเทอร์เฟซที่เรียกว่า LGA 775 ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซแบบใหม่ ที่รองรับซีพียูถึงระดับ Dual Core (ถ้าชิปเซตรองรับ) ส่วนถ้าเป็นรุ่นเก่าหน่อยก็จะใช้ Socket 478 ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็เริ่มหายไปจากท้องตลาดที่ละน้อยแล้ว ส่วนผู้ที่จะใช้ซีพียู AMD นั้นก็จะมี 2 ทางเลือกคือ Socket 939 สำหรับซีพียูระดับสูงและระดับกลางที่รองรับซีพียู Dual Core ได้ และ Socket 754 สำหรับซีพียูระดับล่าง ที่มีข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่ต่างจาก Socket 939 อยู่เหมือนกัน ส่วน Socket A นั้นแม้ว่าจะยังพอหาซื้อได้ แต่ไม่แนะนำเพราะมันเก่ามากและไม่คุ้มกับการซื้อมาใช้แล้วครับ
อย่างที่สองคือเรื่องของหน่วยความจำ ซึ่งถ้าคุณต้องการใช้งานหน่วยความจำรุ่นใหม่ที่เป็น DDRII ล่ะก็คุณต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซตรุ่นใหม่ๆ และจะมีเฉพาะกับเมนบอร์ดที่รองรับซีพียู Intel เท่านั้นด้วย โดยช่องใส่ DDRII จะมีขาที่ถี่กว่า และไม่สามารถใช้งานร่วมกับ DDR ธรรมดาได้ครับ ส่วนผู้ที่ใช้ซีพียู AMD ในตอนนี้จะถูกจำกัดให้ใช้งานอยู่เพียงแค่ DDR เท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นซีพียู Socket 939 และชิปเซตรองรับจะสามารถทำงานแบบ Dual Channel ได้ด้วย ส่วน Socket 754 ไม่รองรับครับ ด้าน Dual Channel ของ Intel นั้นส่วนใหญ่ก็จะสามารถรองรอง Dual Channel ได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะชิปเซตของ Intel เอง ส่วนความเร็วในการทำงาน หากใส่แรมที่ความเร็วสูงกว่าที่เมนบอร์ดรองรับก็สามารถใส่ได้ไม่มีปัญหาครับ แต่จะทำงานเท่าที่เมนบอร์ดรองรับเท่านั้น
อย่างที่สามคือเรื่องกราฟิกการ์ดสำหรับเมนบอร์ดที่ไม่ได้มีการติดตั้งชิปกราฟิกมาให้ ซึ่งจะแบ่งเป็น PCI-Express X16 ซึ่งเป็นสล็อตแบบใหม่ มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า และในปัจจุบันการ์ดแบบ PCI-Express X16 ก็มีออกมาขายกันเต็มไปหมดแล้ว ส่วนอินเทอร์เฟซเก่าอย่าง AGP 8X นั้นเป็นสล็อตที่ยังคงมีเมนบอร์ดบางรุ่นที่ไม่รองรับบัสแบบ PCI-Express ยังคงติดตั้งมาให้ ซึ่งประสิทธิภาพในการทำงานก็ถือว่ายังดีอยู่ แต่กราฟิกการ์ดที่ใช้สล็อต AGP ก็กำลังจะหมดไปจากท้องตลาดในอีกไม่ช้าแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีเทคโนโลยี SLI กับ CrossFire อีก ซึ่งถ้าคุณต้องการใช้งานสิ่งเหล่านี้ ก็จำเป็นที่จะต้องเลือกเมนบอร์ดที่รองรับด้วยเช่นกัน


2. ชิปเซต
เป็นที่แน่นอนว่าชิปเซตเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญบนเมนบอร์ด และเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติเกือบทั้งหมดของตัวเมนบอร์ดเลย ดังนั้นมันจึงมีความสำคัญและส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเสถียรค่อนข้างมากเลยทีเดียว หากคุณใช้ซีพียู Intel และมีงบประมาณที่มาก ก็ควรเล่นชิปเซตในระดับ High-End ทั้งของ Intel อย่าง Intel 955X หรือ Intel 975X ไปเลย หรือจะเป็นของ nVidia nForce4 SLI ก็น่าสนใจเพราะสามารถรองรับ SLI ได้ด้วย ส่วนผู้ที่ต้องการใช้ซีพียู AMD ก็คงมีแต่ชิปเซต nForce4 เท่านั้นที่เป็นที่พึ่งพาได้ ถ้าคุณต้องการเมนบอร์ดระดับกลางคือมีงบประมาณที่ไม่จำกัดมากจนเกินไปนักก็ตัวเลือกที่เหมาะสมก็ยังคงอยู่ที่ชิปเซต Intel และ nVidia อยู่ดี โดยถ้าคุณใช้ซีพียู Intel ล่ะก็ ชิปเซตที่เหมาะสมน่าจะเป็นชิปเซตในตระกูล Intel 915 หรือ Intel 945 ครับ ส่วนผู้ใช้ซีพียู AMD ก็จะมีตัวเลือกเป็น nForce3 และ nForce4 ครับ โดยมีให้เลือกหลายรุ่นหลายระดับ นอกจากนี้ก็อาจจะลองชิปเซต ATI Xpress200 ซึ่งเป็นชิปเซตตัวใหม่ที่ประสิทธิภาพพอใช้ก็ถือว่าโอเคครับ สุดท้ายสำหรับผู้ที่มีงบประมาณประหยัดจริงๆ และไม่ซีเรียสเรื่องความเสถียรมากนัก ทางเลือกของคุณก็คือชิปเซตจาก SIS และ VIA ซึ่งสองค่ายนี้ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพต่ำ หมายถึงมีความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีต่างๆ ได้น้อยกว่าของ Intel และ nVidia รวมถึงเรื่องความเสถียรด้วย มันจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีงบประมาณประหยัดจริงๆ เท่านั้น


3. อุปกรณ์ที่ติดมากับเมนบอร์ด
เมนบอร์ดในปัจจุบันนั้นค่อนข้างต่างจากเมนบอร์ดสมัยก่อนมาก เพราะเดี๋ยวนี้อุปกรณ์แทบทุกอย่าง ถูกนำมาใส่รวมไว้บนเมนบอร์ดเกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นซาวนด์การ์ด, แลนการ์ด, RAID หรือบางรุ่นก็มีกราฟิกชิปติดตั้งมาให้ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องดูให้ดีๆ ด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์มาใส่เพิ่มเองให้เสียตัง
- Sound ว่าด้วยเรื่องของซาวนด์การ์ดที่ติดมากับบอร์ดหรือ Sound onboard นั่นเอง เมื่อก่อนจัดได้ว่าเป็นซาวนด์การ์ดแก้ขัด คือขอเพียงแค่มีเสียง ฟังเพลงได้นิดๆ หน่อยๆ ก็โอเคแล้ว เสียงไม่ต้องเลิศเลอมากนัก แต่ปัจจุบันซาวนด์ออนบอร์ดได้พัฒนาจนมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซี่งในตอนนี้เมนบอร์ดทุกตัวอย่างน้อยๆ ก็ต้องมีระบบเสียง 5.1 Channel ติดมาให้อยู่แล้ว ทำให้คุณพร้อมสำหรับดูหนัง DVD ได้ทันที แต่ถ้าต้องการประสิทธิภาพมากกว่านั้นก็ยังมีแบบ 7.1 Channel รวมถึงระบบเสียงแบบ High Definition ที่ให้เสียงดียิ่งขึ้นอีกด้วย
- Network ระบบเครือข่ายเดี๋ยวนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้น เพราะว่าในบ้านของคุณอาจจะมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่อง นอกจากนี้การเชื่อมด้วย High-Speed Internet ในบ้างครั้งก็ใช้การ์ดแลนในการเชื่อมต่อ ดังนั้นเมนบอร์ดแทบจะทุกรุ่นจึงมีการติดตั้งการ์ดแลนมาด้วย แต่จะเป็น 10/100 ธรรมดา หรือจะเป็นระดับ Gigabit ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด ซึ่งการใช้งานจริงๆ แล้ว 10/100 ก็เพียงพอต่อความต้องการเพราะเครือข่ายระดับ Gigabit นั้นก็จำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับ Gigabit ด้วยเช่นกัน
- SATA Controller and RAID การเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์นั้นแต่ก่อนเราจะใช้อินเทอร์เฟซแบบ Parallel ATA ซึ่งมีลักษณะเป็นสายแพ แต่เมนบอร์ดเดี๋ยวนี้มีการติดตั้ง Controller แบบ SATA ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซแบบใหม่ที่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่ามาให้ ซึ่งต้องใช้กับฮาร์ดดิสก์ SATA เท่านั้น พร้อมกันนี้ยังได้มีความสามารถในการทำ RAID ติดมาพร้อมกันอีกด้วย
- FireWire (IEEE 1394) เป็นคอนโทรลเลอร์สำหรับบัสส่งข้อมูลความเร็วสูง คล้ายๆ กับ USB แต่มีความเร็วที่สูงกว่า โดยปกติจะมีอุปกรณ์ไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบนี้ในการเชื่อมต่อ ส่วนมาก็เป็นอุปกรณ์ AV เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีพวก External Harddisk บางรุ่นที่ใช้การเชื่อมต่อแบบนี้ด้วยเช่นกัน
การเลือกเมนบอร์ดที่มีการติดตั้งอุปกรณ์นี้มาให้ ก็ควรจะต้องดูความจำเป็นในการใช้งานของเรา อย่างเช่นถ้าเราไม่ได้ใช้เพื่อดูหนังด้วยลำโพงที่รับระบบเสียง 5.1 ต่อให้เมนบอร์ดรองรับระบบเสียง 7.1 High Definition ไปก็ไร้ประโยชน์ หรืออย่าง Gigabit Ethernet ก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับการใช้งานทั่วไป ถึงอย่างไรก็ตาม ลูกเล่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้กลายมาเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว คุณจึงต้องตัดสินใจเลือกเฉพาะในกรณีที่มันเป็น Option เพิ่มเติมที่ทำให้ราคาของมันสูงขึ้นเท่านั้นเองครับ


4. ยี่ห้อ
มาถึงส่วนที่หลายคนรอคอย เพราะเคยได้ยินคนเคยเถียงกันเรื่องเมนบอร์ดยี่ห้อไหนดีที่สุด จริงๆ แล้วเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อต่างก็มีข้อดีและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพ การออกแบบที่สวยงาม เทคโนโลยีหรือลูกเล่นเสริม รวมถึงเรื่องของของแถมด้วย ดังนั้นจึงไม่มียี่ห้อไหนที่เรียกว่าดีที่สุด หากคุณต้องการเมนบอร์ดที่เหมาะกับคุณสักตัว อย่างแรกก็คือคุณต้องดูรายละเอียดของมันเสียก่อนว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการข้างต้นที่กล่าวมาแล้วหรือเปล่า ซึ่งถ้ามีเมนบอร์ดหลายตัวที่เข้ามารอบมาให้คุณตัดสิน คราวนี้ค่อยมาดูรายละเอียดกันในเรื่องของการออกแบบ เพราะบางคนชอบเมนบอร์ดสวยๆ บางคนชอบเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งได้เยอะ บางคนชอบเมนบอร์ดที่มีลูกเล่นแปลกๆ ให้ลอง ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนไปครับยี่ห้อเมนบอร์ดในท้องตลาดก็จะมีอยู่กัน 2 ระดับ คือยี่ห้อที่ผลิตเมนบอร์ดในระดับกลางถึงสูงอย่างที่เราคุ้นๆ หูกันไม่ว่าจะเป็น Asus, MSI, Gigabyte, DFI, Abit และอีกหลายๆ ยี่ห้อ ซึ่งเมนบอร์ดเหล่านี้จะมีการออกแบบที่สวยงาม มีอุปกรณ์แถมมาให้ครบเครื่อง และการทำคู่มือ หรือชิ้นงานของตัวเมนบอร์ดก็จะดูพิถีพิถันกว่า ส่วนยี่ห้อเมนบอร์ดอีกแบบคือแบบ Low-Cost ซึ่งเป็นเมนบอร์ดราคาถูกอย่างยี่ห้อ ASRock, ECS และ Axper น้องใหม่ที่แตกออกมาจาก Gigabyte โดยเมนบอร์ดเหล่านี้ก็สามารถทำงานได้เช่นเดียวกัน แต่ที่มีราคาถูกเพราะตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นทิ้ง ทั้งเรื่องของแถม การทำคู่มือ ชิ้นงานของตัวเมนบอร์ดที่ได้รับการออกแบบมาอย่างง่ายๆ นอกจากนี้ยี่ห้อเหล่านี้ส่วนมากจะหลีกเลี่ยงที่จะพัฒนาเมนบอร์ดด้วยชิปเซตระดับสูงๆ ซึ่งทำให้มีราคาแพงนั่นเอง


5. การรับประกันเมนบอร์ด
ถือว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของการใช้งานแต่อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าเมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อเมนบอร์ดเกิดการเสียหายขึ้นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อก็หยุดการทำงานไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์อื่นเข้ากับเมนบอร์ดควรให้ความ ระมัดระวังกันสักนิด สาเหตุเหตุหลักของการทำให้เมนบอร์ดเสียหายนั้นเกิดขึ้นได้หลายกรณีแต่ที่เห็นกันบ่อยมากนั้นคงหนีไม่พ้นการที่ผู้ใช้ทำการดัดแปลงการ ทำงานของเมนบอร์ดในส่วนต่างๆ และการโอเวอร์คล็อก จนทำให้เมนบอร์ดเสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีเช่นนี้แล้วทางผู้ผลิตถือ ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจาก ผู้บริโภคไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากขั้นตอนการผลิต รับรองรองได้ว่ากระปุกออมสินของคุณต้องถูกทุบเพื่อนำมาซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่แน่นอน การรับประกัน เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะรับประกันผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 3 ปีเท่านั้นครับ


6. งบประมาณ
วกกลับมาพูดเรื่องงบประมาณปิดท้ายอีกเช่นเคย สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเมนบอร์ดอยู่และอยากที่จะทราบราคาพอคราวๆ ของเมนบอร์ด เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะใช้เมนบอร์ดระดับใด เมนบอร์ดระดับ Low Cost สำหรับผู้ที่ต้องการความประหยัดจะมีราคาตั้งแต่ 1 พันกว่าบาทเรื่อยไปแต่ไม่เกิน 3 พัน ซึ่งจะมีทั้งรุ่นที่ใช้ชิปเซตดีๆ อยู่บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ใช้เมนบอร์ดระดับนี้ต้องทำใจครับว่าของแถมอาจจะไม่ครบเครื่อง และลูกเล่นจะมีไม่ค่อยมากครับเมนบอร์ดระดับกลางนั้นจะมีราคาอยู่ที่ 3 พันบาทขึ้นไปจนถึงราวๆ 5 พันกว่าบาทครับ ซึ่งเป็นราคาที่คุณจะได้ชิปเซตที่ทำงานได้ดีอย่าง Intel และ nVidia ได้ นอกจากนี้ลูกเล่นและคุณสมบัติการทำงานของเมนบอร์ดก็ยังถูกใส่มาให้เพียบอีกด้วย โดยสวยใหญ่จะเป็นลูกเล่นมาตรฐานที่ติดมากับชิปเซตอยู่แล้ว และอาจจะมีการใส่ Controller เพิ่มเติมอีกนิดหน่อยเท่านั้น ส่วนเมนบอร์ดระดับ Top หรือ High-End นี้จะมีราคาตั้งแต่ 6 พันบาทขึ้นไปจนทะลุขึ้นไปหลักหมื่นเลยก็มี ความพิเศษของเมนบอร์ดในระดับนี้คือใช้ชิปเซตคุณภาพสูง มีลูกเล่นพร้อมหน้าพร้อมตา อย่าง SLI หรือ Crossfire นอกจากนี้ของแถมหรือความสามารถพิเศษก็ยังใส่มากันแบบใช้ไม่หมดเช่น Dual Gigabit LAN, SATA 8 พอร์ตพร้อม RAID 5 เมนบอร์ดบางรุ่นยังมี Bluetooth หรือ Wi-Fi ติดมาให้อีกด้วย ซึ่งถ้าคุณไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้ (ส่วนใหญ่ก็คงไม่ต้องใช้) ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อเมนบอร์ดระดับนี้ไปใช้งานก็ได้ครับ
อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นครับ เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประสานการทำงานต่างๆ ของอุปกรณ์เกือบทุกชิ้นให้สามารถทำงานร่วมกันได้ รายละเอียดของมันจึงต้องมีความเกี่ยวกับกับอุปกรณ์ทุกชิ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันจึงเป็นเรื่องที่ค่อยข้างยากในการพิจารณาเลือกหาเมนบอร์ดดีๆ มาใช้งานซักตัว สิ่งสำคัญก็คือคุณต้องรู้ความต้องการในการใช้งานของตัวคุณก่อนเท่านั้นครับ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แรม


ความเร็วของ RAM
ที่ตัว Memorychip จะมี เลขรหัส เช่น HM411000-70 ตัวเลขหลัง (-) คือ ตัวเลขที่บอก ความเร็วของ RAM ตัวเลขนี้ เรียกว่า Accesstime คือ เวลาที่เสียไป ในการที่จะเข้าถึงข้อมูล หรือ เวลาที่แสดงว่า ข้อมูลจะถูก ส่งออกไปทาง Data bus ได้เร็วแค่ไหน ยิ่ง Access time น้อยๆ แสดงว่า RAM ตัวนั้น เร็วมาก
หน่วยความจำความเร็วสูง (Cache Memory)
หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง ทำหน้าที่เหมือนที่พักคำสั่ง และข้อมูลระหว่างการทำงาน เพื่อให้การทำงานโดยรวมเร็วขึ้น แบ่งเป็นสองประเภท คือ แคชภายใน (Internal Cache) และแคชภายนอก (External Cache) โดยแคชภายใน หรือ L1 หรือ Primary Cache เป็นแคชที่อยู่ในซีพียู ส่วนแคชภายนอก เป็นชิปแบบ SRAM ติดอยู่บนเมนบอร์ด ทำงานได้ช้ากว่าแบบแรก แต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกอีกชื่อได้ว่า L2 หรือ Secondary Cache

ความจุของหน่วยความจำ
โดยเหตุที่หน่วยความจำแรม เป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์นี่เอง เมื่อกล่าวถึงขนาดความจุของหน่วยความจำ จึงหมายความถึง ขนาดของหน่วยความจำแรม เช่น บอกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ มีขนาดความจุของหน่วยความจำ 16 MB หมายความว่า คอมพิวเตอร์มีขนาดหน่วยความจำแรม เท่ากับ 16 MB นั่นเอง
การวัดขนาดหน่วยความจำ นิยมใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้เท่ากับตัวอักษร 1 ตัว โดยที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้หน่วยความจำที่ใหญ่มาก เพื่อให้สะดวกจึงต้องคิดหน่วยที่ใหญ่ขึ้นไปอีกมาเรียก นั่นคือ หน่วย KB เท่ากับ 1024 ไบต์ ( แต่อาจถือเอาคร่าวๆ ว่าเป็นพันไบต์ได้) และ MB ซึ่งเท่ากับประมาณ หนึ่งล้านไบต์ ดังนี้
1 Byte ( ไบต์) = 1 ตัวอักษร
1 KB ( กิโลไบต์) = 1024 ตัวอักษร
1 MB ( เมกกะไบต์) = 1024 KB
1 GB ( กิกะไบต์) = 1024 MB
ประเภทของแรม
หน่วยความจำหรือ RAM เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อจะใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นการพิจารณา เลือกซื้อคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการ เลือกซื้อชนิดและปริมาณของหน่วยความจำด้วย ความต้องการหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น
DRAM คือ เมโมรี่แบบธรรมดาที่สุด ซึ่งความเร็วขึ้นอยู่กับค่า Access Time หรือเวลาที่ใช้ในการเอาข้อมูลในตำแหน่งที่เราต้องการออกมาให้ มีค่าอยู่ในระดับนาโนวินาที (ns) ยิ่งน้อยยิ่งดี เช่น ชนิด 60 นาโนวินาที เร็วกว่าชนิด 70 นาโนวินาที เป็นต้น รูปร่างของ DRAM เป็น SIMM 8 บิต (Single-in-line Memory Modules) มี 30 ขา DRAM ย่อมาจาก Dynamic Random Access Me

Fast Page DRAM ปกติแล้วข้อมูลใน DRAM จึงถูกเก็บเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า Page ถ้าเป็น Fast Page DRAM จะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าปกติสองเท่าถ้าข้อมูลที่เข้าถึงครั้งที่แล้ว เป็นข้อมูลที่อยู่ใน Page เดียวกัน Fast Page DRAM เป็นเมโมรี่ SIMM 32 บิตมี 72 ขา (Pentium มีดาต้าบัสกว้าง 64 บิตดังนั้นจึงต้องใส่ SIMM ทีละสองแถวเสมอ)


SDRAM เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่เร็วกว่า EDO ประมาณ 25 % เพราะสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้เวลาผ่านไปเท่ากับ Access Time ก่อน หรือเรียกได้ว่า ไม่มี Wait State นั่นเอง ความเร็วของ SDRAM จึงไม่ดูที่ Access Time อีกต่อไป แต่ดูจากสัญญาณนาฬิกาที่ โปรเซสเซอร์ติดต่อกับ Ram เช่น 66, 100 หรือ 133 MHz เป็นต้น SDRAM เป็นแบบ DIMM 64 บิต มี 168 ขา เวลาซึ้อต้องดูด้วยว่า MHz ตรงกับเครื่องที่เราใช้หรือไม่ SDRAM ย่อมาจาก Sychronous DRAM เพราะทำงาน "sync" กับสัญญาณนาฬิกาบนเมนบอร์ด
SDRAM II (DDR DDR (Double Data Rate) SDRAM มีขา 184 ขา มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 2 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 2 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล และมีความเร็วมากกว่า SDRAM เช่น ความเร็ว 133 M
RDRAM RDRAM หรือที่นิยมเรียกว่า RAMBUS มีขา 184 ขา ทำมาเพื่อให้ใช้กับ Pentium4 โดยเฉพาะ มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่มีความเร็วสูงมาก จึงเรียกว่า Rambus DRAM หรือ RDRAM อาศัยช่องทางที่แคบ แต่มีแบนด์วิทด์สูงในการส่งข้อมูลไปยังโปรเซสเซอร์ ทำให้ความเร็วในการทำงานสูงกว่า SDRAM เป็นสิบเท่า RDRAM เป็นทางเลือกทางเดียวสำหรับเมนบอร์ดที่เร็วระดับหลายร้อยเมกกะเฮิร์ดซ์

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติ CPU

ประวัติ ซีพียู

ไมโครโปรเซสเซอร์กำเนิดขึ้นมาในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเกิดจากการนำเทคโนโลยี 2 อย่างมาพัฒนาร่วมกันซึ่งก็คือ เทคโนโลยีทางด้านดิจิตอลคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีทางด้านโซลิดสเตต (solidstate)
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานทางก้านการทหาร
ช่วงกลางทศวรรษที่1940

ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในด้านวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ ในช่วงสงครามนี้ได้มีการศึกษาการทำงานของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง (มีชื่อว่า วงจรแบบพัลส์ (pulse circuit) ที่ใช้ในเรดาร์) ทำให้เราเข้าใจดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภายหลังสงครามได้มีการค้นคว้าเกี่ยวกับคูณสมบัติทางกายภายของโซลิดสเตตอย่างมากจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1948นักวิทยาศาสตร์ที่ห้องเบลล์แล็บ (Bell laboratory) ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากโซลิดสเตต
ช่วงต้นทศวรรษที่ 1950

เริ่มมีการผลิตดิจิตอลคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อใช้งานโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งทำมาจากหลอดสูญญากาศหลอดสูญญากาศเหล่านี้เป็นส่วนประกอบสำคัญ ของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราจะนำไปสร้างเป็นวงจรพื้นฐาน เช่น เกต (gate) แปละฟลิปฟลอป (flip-flop) โดยเราจะนำเกตและฟลิปฟลอปหลาย ๆ อันมารวมกันเพื่อใช้ในการสร้างวงจรคำนวณ หน่วยความจำ และอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุตของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ๆ จะมีวงจรต่าง ๆ อยู่มากมาย ในช่วงแรกวงจรต่าง ๆจะสร้างขึ้นจาก หลอดสูญญากาศ จึงทำให้ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ในช่วงแรก ๆมีขนาดใหญ่และเนื่องจาก หลอดสูญญากาศ นี้เมื่อใช้งานนานๆจะร้อนดังนั้นเราจึงต้องติดตั้งระบบระบายความร้อน เข้าไปด้วย ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสูญญากาศนี้มักเชื่อถือไม่ค่อยได้ เมื่อเทียบกับมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันการใช้หลอดสูญญากาศนี้เป็นส่วนประกอบ ของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ ทำให้ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ช่วงแรกมีราคาแพงและยากต่อการดูแลรักษา ข้อเสียต่าง ๆ ของหลอดสูญญากาศนี้ทำให้เราพัฒนาดิจิตอลคอมพิวเตอร์ในช่วงแรงไปได้ช้ามาก คอมพิวเตอร์ช่วงแรก ๆ ยังไม่มีที่สำหรับเก็บโปรแกรม แต่จะมีที่ไว้สำหรับเก็บข้อมูลเท่านั้น
ช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 จนถึงต้นทศวรรษที่ 1950 การใช้งานคอมพิวเตอร์จะทำการโปรแกรมโดยวิธีที่เรียกว่า พาตช์คอร์ด (patch - cord) ซึ่งโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นผู้นำสายต่อเข้ากับเครื่องเพื่อบอกให้เครื่องรู้ว่าจะต้องทำการ ประมวลผลข้อมูลอย่างไร โดยหน่วยความจำของเครื่องจะมีไว้สำหรับเก็บข้อมูลเท่านั้น คอมพิวเตอร์ในช่วงหลัง ๆ จะมีที่สำหรับเก็บโปรแกรม ซึ่งก็หมายความว่า ขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์จะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ด้วย การที่เราจะทราบว่าข้อมูลในตำแหน่งใดเป็นขั้นตอนการทำงานหรือเป็นข้อมูลที่มีไว้สำหรับประมวลผล ก็โดยการตรวจสอบดูข้อมูลนั้นว่าอยู่ที่ตำแหน่งใด (ซึ่งเราจะต้องทราบว่าเราเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่ตำแหน่งใดและเก็บโปรแกรมที่ตำแหน่งใด) ความคิดเกี่ยวกับที่เก็บโปรแกรมนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก รวมทั้งเป็นพื้นฐานที่สำคัญตัวหนึ่งในสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
ในช่วงทศวรรษที่ 1950ได้มีการค้นคว้าและทดลองโซลิดสเตตกันอย่างจริงจัง ทำให้ได้รู้จักสารกึ่งตัวนำมากยิ่งขึ้น ได้มีการนำสารซิลิคอนมาทดแทนสารเจอร์เมเนียม ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor) ทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิตลงเนื่องจากสารซิลิคอนหาได้ง่ายกว่าสารเจอร์เมเนียม และการผลิตทรานซิสเตอร์ (transistor) ที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำจำนวนมากก็จะช่วยทำให้หาง่าย และมีราคาถูกลง
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 นักออกแบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์ได้นำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ โดยวงจรต่าง ๆ ก็ยังคงใช้ทรานซิสเตอร์หลายตัวในการทำงาน แต่คอมพิวเตอร์ที่ทำจากทรานซิสเตอร์นี้จะมีขนาดเล็กกว่า เย็นกว่า และน่าเชื่อถือมากกว่าคอมพิวเตอร์ที่ทำจากหลอดสูญญากาศ
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960

แนวทางการสร้างคอมพิวเตอร์จากโซลิดสเตตได้แยกออกเป็น 2 แนวทาง แนวทางหนึ่งคือ การสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ต้องอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ซึ่งสร้างโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น บริษัท IBM,Burroughs และ Honeywell เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้สามารถประมวลผลได้ทีละมาก ๆ และจะถูกนำไปใช้งานทางด้านการพาณิชย์และด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เหล่านี้จะมีคราคาแพงมาก เพื่อที่จะให้คุ้มกับราคาจึงต้องใช้งานมันตลอดเวลา มีวิธีการอยู่ 2 วิธีในการที่จะใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด นั่นก็คือวิธีแบตช์โหมด (batch mode) และไทม์แชริ่งโหมด (timesharing mode) วิธีแบตช์โหมดคือการที่งานขนาดใหญ่เพียง 1 ชิ้นจะถูกทำในทีเดียว และงานชิ้นต่อไปจะถูกทำทันทีเมื่องานชิ้นนี้เสร็จ ส่วนวิธีไทม์แชริ่งโหมดคือการทำงานหลาย ๆ ชิ้นพร้อมกัน โดยแบ่งงานนั้นออกเป็นส่วน ๆ และผลัดกันทำทีละส่วน อีกแนวทางหนึ่งคือ การสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีขนาดเท่าโต๊ะ เรียกว่า มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) ซึ่งมีความสามารถไม่เท่ากับเครื่องขนาดใหญ่แต่มีราคาถูกกว่า และสามารถทำงานที่มีประโยชน์ได้มาก ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ถูกนำไปใช้งานในห้องแล็บ นักวิทยาศาสตร์จะใช้ดีดิเคตคอมพิวเตอร์ (dedicated computer)ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ ที่ทำงานได้อย่างเดียวแทนที่จะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถทำงานที่แตกต่างกันได้หลายอย่าง โซลิดสเตตยังคงถูกพัฒนาต่อไปควบคู่กับดิจิตอลคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีทั้งสองนี้ มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้น การที่คอมพิวเตอร์มีวงจรพื้นฐานที่คล้ายกันจึงทำให้อุตสาหกรรม ด้านสารกึ่งตัวนำทำการผลิตวงจรที่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์พื้นฐานเดียวกันได้ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 ได้มีการนำทรานซิสเตอร์หลาย ๆ ตัวมาบรรจุลงในซิลิคอนเพียงตัวเดียว โดยทรานซิสเตอร์แต่ละตัวจะถูกเชื่อมต่อกันโดยโลหะขนาดเล็กเพื่อสร้างเป็นวงจรแบบต่าง ๆ เช่น เกต ฟลิปฟลอป รีจิสเตอร์ วงจรบวก วงจรที่สร้างจากเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์แบบใหม่นี้เรียกว่า ไอซี (integrated circuit : IC) ในทศวรรษ1964 บริษัท IBM ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคโนโลยี IC (Integrated circuit) เป็นเครื่อง Mainframe เครื่องแรก มีชื่อว่า System/360 ซึ่งสามารถที่จะเพิ่มอุปกรณ์ทาง input/output และ Auxiliary Storage Device ได้
ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ได้มีการผลิตไอซีพื้นฐานที่เป็นแบบ small และ medium scale integration (SSI และ MSI) ทำให้นักออกแบบสามารถเลือกใช้งานไอซีได้หลายแบบ เทคโนโลยีไดซีนี้ถูกแลักดันออก 2 แนวทางคือ การพัฒนาทางด้านเทคนิคเพื่อลดต้นทุนการผลิต และอีกแนวทางหนึ่งก็คือการเพิ่มความซับซ้อนให้กับวงจร การนำไอซีมาใช้ในมินิคอมพิวเตอร์ทำให้มีความสามารถสูงขึ้น มินิคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าโต๊ะ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 นั้นมีประสิทธิภาพพอ กับคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าห้องในช่วงปลายทศวรรษ ที่ 1950 และมินิคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ขนาดเท่าลิ้นชักราคา 10,000 ดอลลาร์ มีประสิทธิภาพพอ ๆ กับมินิคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าขนาดเท่าโต๊ะที่มีราคาถึง 100,000 ดอลลาร์
จากที่กล่าวมาแล้วว่าเทคโนโลยีไอซีมีการพัฒนามาตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1960โดยในช่วงปลาย ทศวรรษที่ 1960 และต้นทศวรรษที่ 1970 ได้เริ่มนำเอาวงจรดิจิตอลมาสร้างรวมกัน และบรรจุอยู่ในไอซีเพียงตัวเดียวเราเรียกไอซีตัวนี้ว่า large-scale integration (LSI) และในช่วงทศวรรษที่1980ได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์มากกว่า100,000ตัวมาใส่ลงใน ไอซีเพียงตัวเดียว เราเรียกไอซีตัวนี้ว่า very large-scale integration (VLSI) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
วงจร LSI ในตอนแรกนั้นถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้กับงานเฉพาะอย่าง แต่ก็มีวงจร LSI บางชนิดที่ถูกผลิตขึ้น เพื่อใช้กับงานทั่ว ๆ ไป เราจะเห็นการพัฒนาของวงจร LSI ได้อย่างชัดเจน โดยดูได้จากการพัฒนา ของเครื่องคิดเลข โดยเครื่องคิดเลขเริ่มแรกจะใช้ไอซีจำนวน 75 ถึง 100 ตัว ต่อมาวงจร LSI ชนิดพิเศษได้ถูกนำมาแทนที่ไอซีเหล่านี้ โดยใช้วงจร LSI นี้เพียง 5 ถึง 6 ตัว และต่อมาช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 วงจร LSI เพียงตัวเดียวก็สามารถ ใช้แทนการทำงานทั้งหมดของเครื่องคิดเลขได้ หลังจากที่วงจรคำนวณได้ถูกลดขนาดลง สถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ก็ถูกลดขนาดลงด้วย โดยเหลือเป็นไอซีเพียงตัวเดียว และเราเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) เราสามารถโปรแกรมไมโครโปรเซสเซอร์เพื่อให้มันทำงานเฉพาะอย่างได้ ดังนั้นมันจึงถูกนำไปใช้เป็น ส่วนประกอบที่สำคัญในสินค้า เช่น ในเตาอบไมโครเวฟ เครื่องโทรศัพท์ ระบบควบคุมอัตโนมัติ เป็นต้น
ช่วงต้นทศวรรษที่ 1970
ได้มีการปรับปรุงสถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์เพื่อเพิ่มความเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการคำนวณ ไมโครโปรเซสเซอร์ช่วงแรกจะประมวลผลข้อมูลทีละ 4บิต หรือเรียกว่าใช้เวิร์ดข้อมูลขนาด 4 บิตซึ่งทำงานได้ช้าแต่ต่อมาได้มีการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ใหม่ ที่ทำงานได้เร็วขึ้น ซึ่งก็คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 8 บิต และพัฒนาจนเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 16 บิต และ 32 บิตในที่สุด
ชุดคำสั่ง (instruction set) ในไมโครโปรเซสเซอร์จะมีขนาดเพิ่มขึ้น และมีความซับซ้อนมากขึ้น เมื่อจำนวนบิตของไมโครโปรเซสเซอร์เพิ่มขึ้น ไมโครโปรเซสเซอร์บางตัวจะมีความสามารถพอ ๆ กับหรือเหนือกว่ามินิคอมพิวเตอร์ทั่วไป
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980

ได้มีการพัฒนาระบบไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 8 บิตที่มีหน่วยความจำ และมีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ระบบนี้มีชื่อเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือไมโครโปรเซสเซอร์ชิปเดี่ยว ซึ่งได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คีย์บอร์ด เครื่องเล่นวีดีโอเทป โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ โทรศัพท์ที่มีความสามารถสูง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในด้านอุตสาหกรรม

CPU ทำหน้าที่อะไร
CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้ สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที





องค์ประกอบของซีพียู
1.แบบการ์ดหรือแบบตลับมีลักษณะเป็นแผงหรือเป็นตลับสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านล่างมีหน้าสัมผัสสำหรับเสียบลงบนช่องต่อลงบนเมนบอร์ดซึ่งเรียกว่า SLOT








2.แบบชิป PGA (Pin Grid Array)มีลักษณะเป็นชิปแผ่นบาง ๆ มักเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหลังจะมีขาเสียบ (PIN) โดยรอบสำหรับเสียบลงช่องต่อลงบนเมนบอร์ด ซึ่งเรียกว่า SOCKET




ส่วนประกอบของโพรเซสเซอร์มีดังนี้

• Bus Interface Unit (BIU) (Cbox) คือส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง address bus, control bus และ data bus กับภายนอกเช่น หน่วยความจำหลัก (main memory) และอุปกรณ์ภายนอก (peripherals)

• Memory Management Unit (MMU) (Mbox) คือส่วนที่ควบคุมโพรเซสเซอร์ในการใช้งานแคช (cache) และหน่วยความจำ (memory) โดย MMU ยังช่วยในการทำ virtual memory และ paging ซึ่งแปลง virtual addresses ไปเป็น physical addresses โดยใช้ Translation Look-aside Buffer (TLB)

• Integrated on-chip cache เป็นส่วนสำหรับเก็บข้อมูลที่ใช้งานบ่อยๆใน Synchronous RAM (SRAM) เพื่อให้การทำงานของโพรเซสเซอร์มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้งานได้ทั้ง L1 และ L2 on chip cache

• Prefetch Unit (part of Ibox) คือส่วนที่ดึงข้อมูลและคำสั่งจาก instruction cache และ data cache หรือ main memory based เมื่อ Prefetch Unit อ่านข้อมูลและคำสั่งมาแล้วก็จะส่งข้อมูลและคำสั่งเหล่านี้ต่อไปให้ Decode Unit

• Decode Unit or Instruction Unit (part of Ibox) คือส่วนที่แปลความหมาย ถอดรหัส หรือแปลคำสั่ง ให้เป็นรูปแบบที่ ALU และ registers เข้าใจ

• Branch Target Buffer (BTB) คือส่วนที่บรรจุคำสั่งเก่าๆที่เข้ามาสู่โพรเซสเซอร์ ซึ่ง BTB นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ Prefetch Unit

• Control Unit or Execution Unit คือส่วนที่เป็นศูนย์กลางคอยควบคุมการทำงานในโพรเซสเซอร์ดังนี้ • อ่านและแปลความหมายของคำสั่งตามลำดับ

• ควบคุม Arithmetic and Logic Unit (ALU), registers และส่วนประกอบอื่นๆของโพรเซสเซอร์ ตามคำสั่ง

• ควบคุมการเคลื่อนย้ายของข้อมูลที่รับ-ส่งจาก primary memory และอุปกรณ์ I/O

• ALU (Ebox) คือส่วนที่ปฎิบัติตามคำสั่งและเปรียบเทียบ operands ในบางโพรเซสเซอร์มีการแยก ALU ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

• Arithmetic Unit (AU)

• Logic Unit (LU)

• operation ที่ ALU ปฎิบัติตามเช่น

• Arithmetic operations (+, -, *, และ /)

• Comparisons (<, >, และ =)

• Logic operations (and, or)

• Floating-Point Unit (FPU) (Fbox) คือส่วนที่ทำการคำนวณเกี่ยวกับจำนวนตัวเลขที่เป็นจุดทศนิยม • Registers (part of Ibox, Fbox, และ Ebox) คือส่วนที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลสำหรับการคำนวณในโพรเซสเซอร์

• Data register set เก็บข้อมูลที่ใช้งานโดย ALU เพื่อใช้สำหรับการคำนวณที่ได้รับการควบคุมจาก Control Unit ซึ่งข้อมูลนี้อาจส่งมาจาก data cache, main memory, หรือ Control Unit ก็ได้

• Instruction register set เก็บคำสั่งที่กำลังทำงานอยู่

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ




1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)

หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)


หน่วยควบคุมทำหน้าที่คงบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)


คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล