วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เมนบอร์ด

เมนบอร์ด









ความสำคัญของmainboard


เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง คือรวมเอาอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม กราฟิกการ์ด การ์ดอุปกรณ์เสริมต่างๆ ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมายให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยบนเมนบอร์ดจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าชิปเซต ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ถืวว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบ เพราะตัวชิปเซตนี้เองที่ทำหน้าที่กำหนดสถาปัตยกรรมโดยรวมของระบบ ไม่ว่าจะเป็นซีพียูที่รองรับ หน่วยความจำที่สามารถทำงานร่วมได้ ลูกเล่นต่างๆ ระบบบัสต่างๆ ที่รองรับ ประเภทของกราฟิกการ์ดที่ใช้งานร่วมด้วย ความสามารถในการต่ออุปกรณ์เก็บข้อมูล ทั้งหมดเป็นหน้าที่ของชิปเซ็ตซึ่งจะว่าไปแล้วก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียวกับเมนบอร์ดนั่นเอง หลายๆ คนที่คิดจะซื้อคอมพิวเตอร์เริ่มต้นจากการเลือกเมนบอร์ดก่อน ซึ่งนั้นไม่ใช่ความคิดที่ดี เพราะเมนบอร์ดไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของระบบ แม้ว่าจะมีผลอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก มันทำหน้าที่เป็นเพียงตัวประสานงานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เท่านั้น ดังนั้นต่อให้เปลี่ยนเมนบอร์ดไปเป็น 10 ตัว แต่ยังคงใช้งานอุปกรณ์ชุดเดิม คุณก็จะได้ประสิทธิภาพไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก ดังนั้นการเลือกที่ถูกต้องจึงควรจะเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นหรือต้องการจะใช้เสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม หรือกราฟิกการ์ดจากนั้นจึงมามองหาเมนบอร์ดที่สามารถรองรับอุปกรณ์ที่คุณวางสเปคไว้ถึงจะเหมาะสม


1.ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket)

เป็นช่องสำหรับใส่ซีพียู มีความแตกต่างไปตามรุ่นของซีพียูที่สามารถติดตั้งได้ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกเมนบอร์ดให้เหมาะกับซีพียูที่จะใช้ ซ็อกเก็ตซีพียูที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่4แบบ คือ Socket 478 และ LGA 775 สำหรับ Pentium 4, ซีพียู Athlon 64 (FX) จะใช้ Socket 754 และ Socket 939 และล่าสุดกับ Socket AM2+ ซึ่งจะรองรับแรม DDR2 ของซีพียูจาก AMD


2.ชิพเซต (Chipset)

ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยชิพเซตจะเป็นตัวกำหนดเมนบอร์ดว่าจะให้ทำงานร่วมกับซีพียูตัวไหน เพราะชิพเซตได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานกับซีพียูตัวนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชิพเซตบนเมนบอร์ดจะมีอยู่ 2 ตัว คือ ชิพเซต North Bridge และชิพเซต South Bridgeชิพเซต North Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลของซีพียูและแรม ตลอดจนสล๊อตของการ์ดแสดงผล ส่วนชิพเซต South Bridge มีขนาดเล็กกว่า ชิพเซต North Bridge มีหน้าที่ควบคุมสล๊อตของการ์ด PCI, ดิสก์ไดรว์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด เมาส์ หรือพอร์ตต่างๆที่อยู่ด้านหลังเครื่อง


3.ซ็อกเก็ตแรม (RAM Socket)
ป็นช่องสำหรับใส่แรม ปัจจุบันมีใช้อยู่ 2 แบบ คือ DDR2 และ DDR3 ซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกันได้เนื่องจากมีร่องบากต่างกัน

4.สล๊อตของการ์ดแสดงผล (Graphic Card Slot)


ว้สำหรับใส่การ์ดแสดงผล (Graphic Card) โดยมีสล๊อตอยู่ 2 แบบ คือ สล๊อต AGP (Accelerate Graphic Port) และ สล๊อต PCI Express x16 โดยทั้งสองแบบจะไม่เหมือนกัน ปัจจุบันบอร์ดรุ่นใหม่นิยมใช้ PCI Express x16 กันหมดแล้ว เนื่องจากมีความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลระดับ 4GB/s ซึ่งสูงกว่าแบบ AGP ถึง2เท่า


5.สล๊อต PCI (Peripheral Component Interconnect)
ทำงานที่ความเร็ว 33MHz และ ส่งข้อมูลที่ 32 บิตทำให้มีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 133 MB/s สล๊อต PCI มีไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดโมเด็ม หรือการ์ดแลน เป็นต้น


6.หัวต่อไดรว์ต่างๆ


แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ หัวต่อสำหรับฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (Floppy Disk Drive) และ หัวต่อสำหรับฮาร์ดดิสก์และไดรว์ซีดี/ดีวีดี หัวต่อฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์มีจำนวนขา 34 ขา (ขาที่ 5 ถูกหักออกเพื่อป้องกันการเสียบผิด) ใช้เชื่อมต่อกับไดรว์ฟล็อปปี้ดิสก์ ส่วนหัวต่อฮาร์ดดิสก์และไดรว์ซีดี/ดีวีดี ปัจจุบันนิยมใช้อยู่2แบบคือ
*หัวต่อแบบ IDE เหมือนกับฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ แต่มันจำนวนเข็ม 40 ขา (ขาที่ 20 ถูกหักออกเพื่อป้องกันการเสียบผิด) ปกติเมนบอร์ดจะมีหัวต่อแบบ IDE มาให้ 2 ช่องคือ IDE1 จะเรียกว่า Primary และ IDE2 เรียกว่า Secondaryแต่ละหัวต่อจะเชื่อมอุปกรณ์ได้ 2 ตัวขนานกันในสายแพเส้นเดียวกัน จึงสามารถต่ออุปกรณ์ได้ทั้งหมด 4 ตัว การต่อแบบขนานนี้ ทำให้อุปกรณ์ที่ต่อบนสายแพเส้นเดียวกัน หน่วงการทำงานของกันและกันได้ การเชื่อมต่อแบบ IDE นี้อาจจะเรียกว่า “เอทีเอแบบขนาน (Parallel ATA)”
*หัวต่อแบบ Serial ATA (SATA) มีขนาดเล็กกว่าแบบ IDE มาก ใช้การเชื่อมต่อแบบอนุกรม การเชื่อมต่อแบบ Serial ATA (SATA) ทำให้ไม่เกิดการหน่วงกันของอุปกรณ์แบบเดียวกับ IDE ทั้งยังมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่สูงกว่า คือ 150 MB/s และชิพเซต nForce 4 Ultra/SLi เป็นชิพเซตรุ่นแรกที่สนับสนุน Serial ATA Mode 2 ที่ 300 MB/s


7.หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ


รูปแบบของหัวต่อแหล่งจ่ายไฟมีอยู่ 2 แบบ คือ หัวต่อ ATX เป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่นจะต้องมี โดยเป็นชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด เดิมหัวต่อแบบ ATX เป็นแบบ 20 ช่อง (2 แถว แถวละ 10 ช่อง) แต่ปัจจุบันหัวต่อแบบ ATX ที่ใช้กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะเป็นแบบ 24 ช่อง (2 แถว แถวละ 12 ช่อง) โดยเพิ่มตำแหน่งของการจ่ายไฟให้มากขึ้นหัวต่อแบบที่ 2 เรียกว่า ATX 12V หัวต่อแบบนี้จะจ่ายแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 จุด ซึ่งเมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบันจะต้องใช้ ATX 12V เพิ่มจากหัวต่อ ATX หลักที่ต้องมีอยู่แล้ว และแหล่งจ่ายไฟที่จำหน่ายในปัจจุบันจะมีหัวต่อ ATX 12V นี้มาให้อยู่แล้วเช่นกัน


8.ชิพรอมไบออส (ROM BIOS)
เป็นหน่วยความจำแบบรอม (ROM - Read Only Memory) ที่บรรจุโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องเอาไว้ โดยไบออส (BIOS - Basic Input Output System) จะทำหน้าที่ตรวจอุปกรณ์ต่างๆเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะได้เริ่มกระบวนการเปิดเครื่องได้อย่างถูกต้องหากไบออสตรวจพบความผิดปกติ ก็จะส่งเสียงเป็นรหัสออกทางลำโพง ทำให้เราได้รู้ว่าได้เกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว วงจรชิพไบออสจะต้องมีแบตเตอรี่ไว้คอยเก็บค่าของไบออส เพื่อไม่ให้ข้อมูลศูนย์หายไปเมื่อปิดเครื่อง และใช้จ่ายไฟให้กับวงจรนาฬิกาในไบออสเพื่อให้นาฬิกาของเครื่องเดินตามปกติอายุการใช้งานของแบตเตอรี้ปกติจะอยู่ที่ 3-5 ปีขึ้นไป เมื่อใดที่เปิดเครื่องขึ้นมาแล้วหน้าจอแสดงคำว่า “Invalid CMOS Check Sum Error” แสดงว่าแบตเตอรี่กำลังจะหมด ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา


9.หัวต่อสายสวิตช์ควบคุม


ช่องเสียบสายสวิตช์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ ตำแหน่งของสายสวิตช์จากด้านหน้าเคส เพื่อใช้ควบคุมการเปิด/ปิดเครื่อง และรีสตาร์ทเครื่อง รวมถึงไฟแสดงสถานะการทำงานของเครื่องและฮาร์ดดิสก์ด้วย


10.พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ
เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ โดยลักษณะของพอร์ตจะแตกต่างตามอุปกรณ์


การเลือกซื้อเมนบอร์ด

การเลือกซื้อเมนบอร์ดให้ตรงตามความต้องการหลังจากที่เราได้ทำการวางแผนในการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่นๆ ได้หมดแล้วคราวนี้ก็มาถือการเลือกซื้อเมนบอร์ดที่จะนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นมารวมกัน


1. รองรับกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีของอุปกรณ์
ไม่ว่าคุณกำลังจะซื้อเมนบอร์ดใหม่เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ทั้งชุดหรือซื้อเพื่อการอัปเกรดคอมพิวเตอร์ตัวเก่าของคุณ สิ่งแรกก็คือคุณต้องดูก่อนว่าเมนบอร์ดที่สามารถรองรับกับอุปกรณ์ที่คุณใช้อยู่ หรือกำลังจะใช้นั้นมีรุ่นใดบ้าง
อย่างแรกก็คงหนีไม่พ้นส่วนของอินเทอร์เฟซ หรือ Socket ที่ใช้สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งเป็นสิ่งแรกทีต้องมองก่อนว่าซีพียูที่คุณใช้นั้นใช้อินเทอร์เฟซแบบใด ถ้าเป็น Intel Pentium หรือ Celeron รุ่นใหม่ๆ เดี่ยวนี้จะใช้อินเทอร์เฟซที่เรียกว่า LGA 775 ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซแบบใหม่ ที่รองรับซีพียูถึงระดับ Dual Core (ถ้าชิปเซตรองรับ) ส่วนถ้าเป็นรุ่นเก่าหน่อยก็จะใช้ Socket 478 ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็เริ่มหายไปจากท้องตลาดที่ละน้อยแล้ว ส่วนผู้ที่จะใช้ซีพียู AMD นั้นก็จะมี 2 ทางเลือกคือ Socket 939 สำหรับซีพียูระดับสูงและระดับกลางที่รองรับซีพียู Dual Core ได้ และ Socket 754 สำหรับซีพียูระดับล่าง ที่มีข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่ต่างจาก Socket 939 อยู่เหมือนกัน ส่วน Socket A นั้นแม้ว่าจะยังพอหาซื้อได้ แต่ไม่แนะนำเพราะมันเก่ามากและไม่คุ้มกับการซื้อมาใช้แล้วครับ
อย่างที่สองคือเรื่องของหน่วยความจำ ซึ่งถ้าคุณต้องการใช้งานหน่วยความจำรุ่นใหม่ที่เป็น DDRII ล่ะก็คุณต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซตรุ่นใหม่ๆ และจะมีเฉพาะกับเมนบอร์ดที่รองรับซีพียู Intel เท่านั้นด้วย โดยช่องใส่ DDRII จะมีขาที่ถี่กว่า และไม่สามารถใช้งานร่วมกับ DDR ธรรมดาได้ครับ ส่วนผู้ที่ใช้ซีพียู AMD ในตอนนี้จะถูกจำกัดให้ใช้งานอยู่เพียงแค่ DDR เท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นซีพียู Socket 939 และชิปเซตรองรับจะสามารถทำงานแบบ Dual Channel ได้ด้วย ส่วน Socket 754 ไม่รองรับครับ ด้าน Dual Channel ของ Intel นั้นส่วนใหญ่ก็จะสามารถรองรอง Dual Channel ได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะชิปเซตของ Intel เอง ส่วนความเร็วในการทำงาน หากใส่แรมที่ความเร็วสูงกว่าที่เมนบอร์ดรองรับก็สามารถใส่ได้ไม่มีปัญหาครับ แต่จะทำงานเท่าที่เมนบอร์ดรองรับเท่านั้น
อย่างที่สามคือเรื่องกราฟิกการ์ดสำหรับเมนบอร์ดที่ไม่ได้มีการติดตั้งชิปกราฟิกมาให้ ซึ่งจะแบ่งเป็น PCI-Express X16 ซึ่งเป็นสล็อตแบบใหม่ มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า และในปัจจุบันการ์ดแบบ PCI-Express X16 ก็มีออกมาขายกันเต็มไปหมดแล้ว ส่วนอินเทอร์เฟซเก่าอย่าง AGP 8X นั้นเป็นสล็อตที่ยังคงมีเมนบอร์ดบางรุ่นที่ไม่รองรับบัสแบบ PCI-Express ยังคงติดตั้งมาให้ ซึ่งประสิทธิภาพในการทำงานก็ถือว่ายังดีอยู่ แต่กราฟิกการ์ดที่ใช้สล็อต AGP ก็กำลังจะหมดไปจากท้องตลาดในอีกไม่ช้าแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีเทคโนโลยี SLI กับ CrossFire อีก ซึ่งถ้าคุณต้องการใช้งานสิ่งเหล่านี้ ก็จำเป็นที่จะต้องเลือกเมนบอร์ดที่รองรับด้วยเช่นกัน


2. ชิปเซต
เป็นที่แน่นอนว่าชิปเซตเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญบนเมนบอร์ด และเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติเกือบทั้งหมดของตัวเมนบอร์ดเลย ดังนั้นมันจึงมีความสำคัญและส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเสถียรค่อนข้างมากเลยทีเดียว หากคุณใช้ซีพียู Intel และมีงบประมาณที่มาก ก็ควรเล่นชิปเซตในระดับ High-End ทั้งของ Intel อย่าง Intel 955X หรือ Intel 975X ไปเลย หรือจะเป็นของ nVidia nForce4 SLI ก็น่าสนใจเพราะสามารถรองรับ SLI ได้ด้วย ส่วนผู้ที่ต้องการใช้ซีพียู AMD ก็คงมีแต่ชิปเซต nForce4 เท่านั้นที่เป็นที่พึ่งพาได้ ถ้าคุณต้องการเมนบอร์ดระดับกลางคือมีงบประมาณที่ไม่จำกัดมากจนเกินไปนักก็ตัวเลือกที่เหมาะสมก็ยังคงอยู่ที่ชิปเซต Intel และ nVidia อยู่ดี โดยถ้าคุณใช้ซีพียู Intel ล่ะก็ ชิปเซตที่เหมาะสมน่าจะเป็นชิปเซตในตระกูล Intel 915 หรือ Intel 945 ครับ ส่วนผู้ใช้ซีพียู AMD ก็จะมีตัวเลือกเป็น nForce3 และ nForce4 ครับ โดยมีให้เลือกหลายรุ่นหลายระดับ นอกจากนี้ก็อาจจะลองชิปเซต ATI Xpress200 ซึ่งเป็นชิปเซตตัวใหม่ที่ประสิทธิภาพพอใช้ก็ถือว่าโอเคครับ สุดท้ายสำหรับผู้ที่มีงบประมาณประหยัดจริงๆ และไม่ซีเรียสเรื่องความเสถียรมากนัก ทางเลือกของคุณก็คือชิปเซตจาก SIS และ VIA ซึ่งสองค่ายนี้ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพต่ำ หมายถึงมีความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีต่างๆ ได้น้อยกว่าของ Intel และ nVidia รวมถึงเรื่องความเสถียรด้วย มันจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีงบประมาณประหยัดจริงๆ เท่านั้น


3. อุปกรณ์ที่ติดมากับเมนบอร์ด
เมนบอร์ดในปัจจุบันนั้นค่อนข้างต่างจากเมนบอร์ดสมัยก่อนมาก เพราะเดี๋ยวนี้อุปกรณ์แทบทุกอย่าง ถูกนำมาใส่รวมไว้บนเมนบอร์ดเกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นซาวนด์การ์ด, แลนการ์ด, RAID หรือบางรุ่นก็มีกราฟิกชิปติดตั้งมาให้ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องดูให้ดีๆ ด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์มาใส่เพิ่มเองให้เสียตัง
- Sound ว่าด้วยเรื่องของซาวนด์การ์ดที่ติดมากับบอร์ดหรือ Sound onboard นั่นเอง เมื่อก่อนจัดได้ว่าเป็นซาวนด์การ์ดแก้ขัด คือขอเพียงแค่มีเสียง ฟังเพลงได้นิดๆ หน่อยๆ ก็โอเคแล้ว เสียงไม่ต้องเลิศเลอมากนัก แต่ปัจจุบันซาวนด์ออนบอร์ดได้พัฒนาจนมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซี่งในตอนนี้เมนบอร์ดทุกตัวอย่างน้อยๆ ก็ต้องมีระบบเสียง 5.1 Channel ติดมาให้อยู่แล้ว ทำให้คุณพร้อมสำหรับดูหนัง DVD ได้ทันที แต่ถ้าต้องการประสิทธิภาพมากกว่านั้นก็ยังมีแบบ 7.1 Channel รวมถึงระบบเสียงแบบ High Definition ที่ให้เสียงดียิ่งขึ้นอีกด้วย
- Network ระบบเครือข่ายเดี๋ยวนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้น เพราะว่าในบ้านของคุณอาจจะมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่อง นอกจากนี้การเชื่อมด้วย High-Speed Internet ในบ้างครั้งก็ใช้การ์ดแลนในการเชื่อมต่อ ดังนั้นเมนบอร์ดแทบจะทุกรุ่นจึงมีการติดตั้งการ์ดแลนมาด้วย แต่จะเป็น 10/100 ธรรมดา หรือจะเป็นระดับ Gigabit ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด ซึ่งการใช้งานจริงๆ แล้ว 10/100 ก็เพียงพอต่อความต้องการเพราะเครือข่ายระดับ Gigabit นั้นก็จำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับ Gigabit ด้วยเช่นกัน
- SATA Controller and RAID การเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์นั้นแต่ก่อนเราจะใช้อินเทอร์เฟซแบบ Parallel ATA ซึ่งมีลักษณะเป็นสายแพ แต่เมนบอร์ดเดี๋ยวนี้มีการติดตั้ง Controller แบบ SATA ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซแบบใหม่ที่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่ามาให้ ซึ่งต้องใช้กับฮาร์ดดิสก์ SATA เท่านั้น พร้อมกันนี้ยังได้มีความสามารถในการทำ RAID ติดมาพร้อมกันอีกด้วย
- FireWire (IEEE 1394) เป็นคอนโทรลเลอร์สำหรับบัสส่งข้อมูลความเร็วสูง คล้ายๆ กับ USB แต่มีความเร็วที่สูงกว่า โดยปกติจะมีอุปกรณ์ไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบนี้ในการเชื่อมต่อ ส่วนมาก็เป็นอุปกรณ์ AV เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีพวก External Harddisk บางรุ่นที่ใช้การเชื่อมต่อแบบนี้ด้วยเช่นกัน
การเลือกเมนบอร์ดที่มีการติดตั้งอุปกรณ์นี้มาให้ ก็ควรจะต้องดูความจำเป็นในการใช้งานของเรา อย่างเช่นถ้าเราไม่ได้ใช้เพื่อดูหนังด้วยลำโพงที่รับระบบเสียง 5.1 ต่อให้เมนบอร์ดรองรับระบบเสียง 7.1 High Definition ไปก็ไร้ประโยชน์ หรืออย่าง Gigabit Ethernet ก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับการใช้งานทั่วไป ถึงอย่างไรก็ตาม ลูกเล่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้กลายมาเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว คุณจึงต้องตัดสินใจเลือกเฉพาะในกรณีที่มันเป็น Option เพิ่มเติมที่ทำให้ราคาของมันสูงขึ้นเท่านั้นเองครับ


4. ยี่ห้อ
มาถึงส่วนที่หลายคนรอคอย เพราะเคยได้ยินคนเคยเถียงกันเรื่องเมนบอร์ดยี่ห้อไหนดีที่สุด จริงๆ แล้วเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อต่างก็มีข้อดีและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพ การออกแบบที่สวยงาม เทคโนโลยีหรือลูกเล่นเสริม รวมถึงเรื่องของของแถมด้วย ดังนั้นจึงไม่มียี่ห้อไหนที่เรียกว่าดีที่สุด หากคุณต้องการเมนบอร์ดที่เหมาะกับคุณสักตัว อย่างแรกก็คือคุณต้องดูรายละเอียดของมันเสียก่อนว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการข้างต้นที่กล่าวมาแล้วหรือเปล่า ซึ่งถ้ามีเมนบอร์ดหลายตัวที่เข้ามารอบมาให้คุณตัดสิน คราวนี้ค่อยมาดูรายละเอียดกันในเรื่องของการออกแบบ เพราะบางคนชอบเมนบอร์ดสวยๆ บางคนชอบเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งได้เยอะ บางคนชอบเมนบอร์ดที่มีลูกเล่นแปลกๆ ให้ลอง ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนไปครับยี่ห้อเมนบอร์ดในท้องตลาดก็จะมีอยู่กัน 2 ระดับ คือยี่ห้อที่ผลิตเมนบอร์ดในระดับกลางถึงสูงอย่างที่เราคุ้นๆ หูกันไม่ว่าจะเป็น Asus, MSI, Gigabyte, DFI, Abit และอีกหลายๆ ยี่ห้อ ซึ่งเมนบอร์ดเหล่านี้จะมีการออกแบบที่สวยงาม มีอุปกรณ์แถมมาให้ครบเครื่อง และการทำคู่มือ หรือชิ้นงานของตัวเมนบอร์ดก็จะดูพิถีพิถันกว่า ส่วนยี่ห้อเมนบอร์ดอีกแบบคือแบบ Low-Cost ซึ่งเป็นเมนบอร์ดราคาถูกอย่างยี่ห้อ ASRock, ECS และ Axper น้องใหม่ที่แตกออกมาจาก Gigabyte โดยเมนบอร์ดเหล่านี้ก็สามารถทำงานได้เช่นเดียวกัน แต่ที่มีราคาถูกเพราะตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นทิ้ง ทั้งเรื่องของแถม การทำคู่มือ ชิ้นงานของตัวเมนบอร์ดที่ได้รับการออกแบบมาอย่างง่ายๆ นอกจากนี้ยี่ห้อเหล่านี้ส่วนมากจะหลีกเลี่ยงที่จะพัฒนาเมนบอร์ดด้วยชิปเซตระดับสูงๆ ซึ่งทำให้มีราคาแพงนั่นเอง


5. การรับประกันเมนบอร์ด
ถือว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของการใช้งานแต่อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าเมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อเมนบอร์ดเกิดการเสียหายขึ้นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อก็หยุดการทำงานไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์อื่นเข้ากับเมนบอร์ดควรให้ความ ระมัดระวังกันสักนิด สาเหตุเหตุหลักของการทำให้เมนบอร์ดเสียหายนั้นเกิดขึ้นได้หลายกรณีแต่ที่เห็นกันบ่อยมากนั้นคงหนีไม่พ้นการที่ผู้ใช้ทำการดัดแปลงการ ทำงานของเมนบอร์ดในส่วนต่างๆ และการโอเวอร์คล็อก จนทำให้เมนบอร์ดเสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีเช่นนี้แล้วทางผู้ผลิตถือ ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจาก ผู้บริโภคไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากขั้นตอนการผลิต รับรองรองได้ว่ากระปุกออมสินของคุณต้องถูกทุบเพื่อนำมาซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่แน่นอน การรับประกัน เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะรับประกันผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 3 ปีเท่านั้นครับ


6. งบประมาณ
วกกลับมาพูดเรื่องงบประมาณปิดท้ายอีกเช่นเคย สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเมนบอร์ดอยู่และอยากที่จะทราบราคาพอคราวๆ ของเมนบอร์ด เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะใช้เมนบอร์ดระดับใด เมนบอร์ดระดับ Low Cost สำหรับผู้ที่ต้องการความประหยัดจะมีราคาตั้งแต่ 1 พันกว่าบาทเรื่อยไปแต่ไม่เกิน 3 พัน ซึ่งจะมีทั้งรุ่นที่ใช้ชิปเซตดีๆ อยู่บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ใช้เมนบอร์ดระดับนี้ต้องทำใจครับว่าของแถมอาจจะไม่ครบเครื่อง และลูกเล่นจะมีไม่ค่อยมากครับเมนบอร์ดระดับกลางนั้นจะมีราคาอยู่ที่ 3 พันบาทขึ้นไปจนถึงราวๆ 5 พันกว่าบาทครับ ซึ่งเป็นราคาที่คุณจะได้ชิปเซตที่ทำงานได้ดีอย่าง Intel และ nVidia ได้ นอกจากนี้ลูกเล่นและคุณสมบัติการทำงานของเมนบอร์ดก็ยังถูกใส่มาให้เพียบอีกด้วย โดยสวยใหญ่จะเป็นลูกเล่นมาตรฐานที่ติดมากับชิปเซตอยู่แล้ว และอาจจะมีการใส่ Controller เพิ่มเติมอีกนิดหน่อยเท่านั้น ส่วนเมนบอร์ดระดับ Top หรือ High-End นี้จะมีราคาตั้งแต่ 6 พันบาทขึ้นไปจนทะลุขึ้นไปหลักหมื่นเลยก็มี ความพิเศษของเมนบอร์ดในระดับนี้คือใช้ชิปเซตคุณภาพสูง มีลูกเล่นพร้อมหน้าพร้อมตา อย่าง SLI หรือ Crossfire นอกจากนี้ของแถมหรือความสามารถพิเศษก็ยังใส่มากันแบบใช้ไม่หมดเช่น Dual Gigabit LAN, SATA 8 พอร์ตพร้อม RAID 5 เมนบอร์ดบางรุ่นยังมี Bluetooth หรือ Wi-Fi ติดมาให้อีกด้วย ซึ่งถ้าคุณไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้ (ส่วนใหญ่ก็คงไม่ต้องใช้) ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อเมนบอร์ดระดับนี้ไปใช้งานก็ได้ครับ
อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นครับ เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประสานการทำงานต่างๆ ของอุปกรณ์เกือบทุกชิ้นให้สามารถทำงานร่วมกันได้ รายละเอียดของมันจึงต้องมีความเกี่ยวกับกับอุปกรณ์ทุกชิ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันจึงเป็นเรื่องที่ค่อยข้างยากในการพิจารณาเลือกหาเมนบอร์ดดีๆ มาใช้งานซักตัว สิ่งสำคัญก็คือคุณต้องรู้ความต้องการในการใช้งานของตัวคุณก่อนเท่านั้นครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น